เจาะลึก Incoterms และ Safety Net อุปกรณ์สำคัญต่อธุรกิจนำเข้า-ส่งออกมากกว่าที่คุณรู้

Incoterms และ Safety Net สามารถช่วยธุรกิจนำเข้า-ส่งออกได้อย่างไร?

ความสำคัญของ Incoterms และ Safety Net

Incoterms คืออะไร มีความเกี่ยวข้องกับ Safety Net อย่างไร?

Incoterms หรือ (International Commercial Terms) คือเงื่อนไขและข้อกำหนดทางการค้าระหว่างประเทศที่กำหนดโดยหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce: ICC) เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าใจบทบาทและหน้าที่ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการซื้อขายระหว่างประเทศครั้งนั้น โดย Incoterms เป็นสิ่งที่ใช้กำหนดความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง ค่าขนส่ง ภาระผูกพันเรื่องศุลกากรและความเสี่ยงในการสูญหายหรือเสียหายของสินค้า

Safety Net หรือตาข่ายคลุมสินค้า ซึ่งใช้งานในคลังสินค้าหรือตู้คอนเทนเนอร์นั้นมีบทบาทสำคัญในกระบวนการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ โดยทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ป้องกันและรักษาความปลอดภัยของสินค้า ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง ดังนี้

  1. ป้องกันการหล่นหรือสูญหายของสินค้า
    Safety Net เป็นอุปกรณ์ที่ใช้คลุมสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์อีกชั้น เพื่อช่วยยึดสินค้าที่อยู่ภายในให้อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงที่สินค้าจะหล่นหรือกระจัดกระจายออกมาเมื่ออยู่ระหว่างการขนส่ง

  2. การตรวจสอบและติดตามการขนส่ง
    Safety Net มักใช้ร่วมกับระบบติดตามหรือบาร์โค้ดของสินค้าในบางกรณี เพื่อให้ผู้ขนส่งสามารถตรวจสอบสภาพสินค้าระหว่างการขนส่งได้ง่ายขึ้น การที่สินค้าได้รับการป้องกันอย่างเหมาะสมจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการตรวจสอบและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากความเสียหาย

  3. เพิ่มความน่าเชื่อถือในกระบวนการศุลกากร
    การใช้ Safety Net จะช่วยให้กระบวนการศุลกากรมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น เนื่องจากช่วยป้องกันสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ไม่ให้เคลื่อนย้ายหรือตกหล่นระหว่างขนส่ง ทำให้การตรวจสอบและดำเนินการศุลกากรผ่านไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

  4. การรับรองมาตรฐานการขนส่งระหว่างประเทศ
    Safety Net ที่ใช้ในกระบวนการขนส่งระหว่างประเทศควรเป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อรับรองว่ามีการป้องกันสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับว่า สินค้าจะได้รับการป้องกันอย่างดีตลอดเส้นทางการขนส่ง

  5. เป็นหลักฐานในกระบวนการค้าและประกันภัย
    การคลุมสินค้าด้วยSafety Netสามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการรับรองสถานะของสินค้าตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางได้หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายระหว่างขนส่ง โดยสามารถใช้เป็นหลักฐานในการเคลมประกันและยื่นข้อเรียกร้องจากผู้ประกันภัยได้ตามข้อกำหนด

 

ความสำคัญของ Incoterms ต่อผู้นำเข้า - ส่งออก

Incoterms มีความสำคัญอย่างมากต่อผู้นำเข้าและส่งออก เนื่องจากช่วยกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของทั้งสองฝ่ายอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องของการขนส่ง ค่าธรรมเนียมและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับสินค้า ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายหรือสูญหายระหว่างการขนส่ง ซึ่งความสำคัญหลัก ๆ ของ Incoterms มีดังนี้

  • Incoterms ช่วยกำหนดว่าใครรับผิดชอบอะไรในขั้นตอนต่าง ๆ ของการขนส่ง เช่น ค่าขนส่ง การประกันสินค้า การเสียภาษีศุลกากร ซึ่งช่วยลดความเข้าใจผิดระหว่างคู่ค้า

  • Incoterms กำหนดว่าเมื่อใดที่ความเสี่ยงจากการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าจะย้ายจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ เช่น ในข้อกำหนด CIF (Cost, Insurance, and Freight) ผู้ขายรับผิดชอบจนกว่าสินค้าจะถึงท่าเรือปลายทาง ซึ่งทำให้ทั้งสองฝ่ายรู้ตำแหน่งความเสี่ยงที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน

  • Incoterms ช่วยให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถวางแผนค่าใช้จ่ายทางการขนส่ง ค่าธรรมเนียมและภาษีได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ทำให้บริหารจัดการเงินสดและกระบวนการนำเข้า-ส่งออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • การระบุเงื่อนไขที่ชัดเจนตั้งแต่ต้นตาม Incoterms ช่วยป้องกันการเกิดข้อขัดแย้งที่อาจต้องแก้ไขทางกฎหมาย อีกทั้งยังเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ทำให้ใช้ในการเจรจาและสื่อสารได้ง่ายขึ้นในตลาดต่างประเทศ

  • Incoterms ทำให้กระบวนการจัดส่งสินค้ารวดเร็วขึ้นเพราะทุกฝ่ายรู้หน้าที่ของตนเอง ไม่ต้องเสียเวลาตกลงเรื่องความรับผิดชอบเมื่อเริ่มดำเนินการ

 

Incoterms 2020 ประกอบด้วย 11 ประเภท แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่

  1. Incoterms ที่ใช้ได้กับการขนส่งทุกรูปแบบ (All Modes of Transport) ใช้ได้ทั้งทางบก ทางอากาศและทางทะเล ประกอบด้วย 7 ประเภทคือ
    1. EXW (Ex Works) ผู้ซื้อรับผิดชอบการขนส่งทั้งหมดตั้งแต่ออกจากสถานที่ของผู้ขาย
    2. FCA (Free Carrier) ผู้ขายส่งมอบสินค้าให้กับผู้ขนส่งตามที่กำหนดโดยผู้ซื้อ
    3. CPT (Carriage Paid To) ผู้ขายรับผิดชอบค่าขนส่งจนถึงจุดหมาย แต่ผู้ซื้อรับผิดชอบความเสี่ยงหลังจากสินค้าถูกส่งมอบ
    4. CIP (Carriage and Insurance Paid To) คล้ายกับ CPT แต่ผู้ขายต้องจัดหาประกันภัยให้ครอบคลุมความเสี่ยงจนถึงจุดหมาย
    5. DAP (Delivered At Place) ผู้ขายส่งมอบสินค้าและรับผิดชอบความเสี่ยงจนถึงสถานที่ที่กำหนด
    6. DPU (Delivered at Place Unloaded) ผู้ขายส่งมอบสินค้าโดยรับผิดชอบถึงจุดที่กำหนดและจัดการขนถ่ายสินค้าออกจากยานพาหนะ
    7. DDP (Delivered Duty Paid) ผู้ขายรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงภาษีนำเข้าสินค้า

  2. Incoterms สำหรับการขนส่งทางทะเลและทางน้ำในประเทศ (Sea and Inland Waterway Transport Only) ใช้เฉพาะเมื่อสินค้าถูกขนส่งทางน้ำ ประกอบด้วย 4 ประเภทคือ
    1. FAS (Free Alongside Ship) ผู้ขายส่งมอบสินค้าโดยนำไปวางไว้ข้างเรือที่ท่าเรือต้นทาง ผู้ซื้อรับผิดชอบค่าขนส่งและความเสี่ยงหลังจากนั้น
    2. FOB (Free On Board) ผู้ขายส่งมอบสินค้าเมื่อวางสินค้าลงบนเรือ ผู้ซื้อรับผิดชอบความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายหลังจากนั้น
    3. CFR (Cost and Freight) ผู้ขายรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งไปยังท่าเรือปลายทาง แต่ผู้ซื้อรับผิดชอบความเสี่ยงตั้งแต่สินค้าอยู่บนเรือ
    4. CIF (Cost, Insurance, and Freight) เหมือน CFR แต่ผู้ขายต้องจัดทำประกันภัยสำหรับสินค้าจนถึงท่าเรือปลายทาง

Incoterms 2020 เปลี่ยนแปลงจากฉบับเก่าอย่างไรบ้าง?

Incoterms 2020 มีการเปลี่ยนแปลงจาก Incoterms 2010 ในหลายประเด็นสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของการค้าในยุคปัจจุบันและเพื่อเพิ่มความชัดเจนและยืดหยุ่นให้กับผู้ใช้ โดยสรุปการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ มีดังนี้

  • เพิ่มเงื่อนไขใหม่ DPU (Delivered at Place Unloaded) แทนที่ DAT (Delivered at Terminal) : ใน Incoterms 2010 มีเงื่อนไข DAT (Delivered at Terminal) ซึ่งหมายถึงการส่งมอบสินค้าที่ปลายทาง แต่ใน Incoterms 2020 ได้เปลี่ยนเป็น DPU (Delivered at Place Unloaded) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ให้สามารถส่งมอบสินค้าได้ทุกที่ที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลง ไม่จำเป็นต้องเป็นสถานีปลายทางเท่านั้น โดยผู้ขายต้องรับผิดชอบการขนถ่ายสินค้าออกจากยานพาหนะที่จุดหมาย

  • ปรับปรุงการประกันภัยในเงื่อนไข CIP และ CIF : สำหรับเงื่อนไข CIP (Carriage and Insurance Paid To) ใน Incoterms 2020 กำหนดให้ผู้ขายต้องซื้อประกันที่ครอบคลุมระดับสูงกว่าฉบับก่อนหน้า (Institute Cargo Clause A ซึ่งครอบคลุมกว้างกว่า) เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้ผู้ซื้อดีขึ้น ส่วน CIF (Cost, Insurance, and Freight) ยังคงใช้ระดับการประกันภัยแบบเดิมคือ Institute Cargo Clause C ซึ่งครอบคลุมพื้นฐาน โดยผู้ซื้อสามารถเลือกเพิ่มความคุ้มครองเองได้

  • การจัดส่งแบบ FCA (Free Carrier) พร้อม Bill of Lading ที่ออกหลังจากโหลดสินค้า : มีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ FCA ใช้งานได้ดีขึ้นในสถานการณ์ที่ต้องใช้ Bill of Lading ในการจัดทำเอกสาร Letter of Credit โดยเพิ่มทางเลือกให้ผู้ขายขอให้ผู้ขนส่งออก Bill of Lading ให้กับผู้ซื้อ แม้ว่าสินค้าจะถูกส่งมอบที่จุดหนึ่งที่ไม่ใช่ท่าเรือเพื่อใช้ในการทำธุรกรรมกับธนาคารได้

  • คำแนะนำที่ชัดเจนเรื่องการขนส่งด้วยยานพาหนะของตนเอง : ใน Incoterms 2020 มีการเพิ่มคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยานพาหนะของผู้ซื้อหรือผู้ขายเองในการขนส่งสินค้า เช่น เมื่อผู้ซื้อไปรับสินค้าด้วยตนเองจากสถานที่ของผู้ขายในเงื่อนไข FCA โดยไม่ต้องใช้ผู้ขนส่งจากภายนอก

  • ความชัดเจนด้านภาระผูกพันในการรักษาความปลอดภัยสินค้า : Incoterms 2020 เพิ่มความชัดเจนในเรื่องภาระผูกพันด้านความปลอดภัยในการขนส่ง
    สินค้า โดยเฉพาะในส่วนของการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในระดับสากล

  • โครงสร้างการจัดทำคู่มือและคำแนะนำที่เข้าใจง่ายขึ้น : ICC ได้ปรับปรุงคำแนะนำใน Incoterms 2020 ให้มีรูปแบบที่เข้าใจง่ายขึ้น ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกเงื่อนไขได้อย่างเหมาะสม ลดความสับสนในการเลือกใช้ Incoterms ที่แตกต่างกัน

สรุปได้ว่า ถึงแม้การทำธุรกิจนำเข้าส่งออกจะมี Incoterms เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะระหว่างการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ แต่การมี Safety Net เพื่อช่วยในการรักษาความปลอดภัยของสินค้าระหว่างประเทศ ก็จะยิ่งเพิ่มความมั่นใจให้ผู้นำเข้าและส่งออกว่าสินค้าจะถึงปลายทางอย่างราบรื่นและปลอดภัย

หากคุณกำลังมองหา Safety Net ตาข่ายกันของตกที่ได้มาตรฐาน บริษัท บีแพ็ค แมททีเรียล เราจำหน่ายผลิตและจำหน่ายตาข่ายสำหรับใช้ปิดท้ายตู้คอนเทนเนอร์และอุปกรณ์ป้องกันสินค้าระหว่างการขนส่ง อย่างแผ่นรองกระดาษลูกฟูก สายรัดพาเลท และตาข่ายคลุมสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ที่ได้มาตรฐาน ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและการให้บริการที่เป็นเลิศ เราจึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าและเป็นพันธมิตรสำหรับธุรกิจจากทั่วประเทศ